ประเภทของการดำน้ำ

ความรู้เกี่ยวกับการดำน้ำ และข้อมูล Dive Site ที่เป็นประโยชน์ ที่น่านำมาบอกต่อให้ทราบโดยทั่วกัน
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปักเป้า
Advanced Member
โพสต์: 1275
meble kuchenne - tworzymyatmosfere.pl
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2005 10:44 pm

โพสต์ โดย ปักเป้า »

หลังจากดำน้ำกันมาซักพัก เริ่มสัมผัสกับการดำน้ำหลายไดฟ์ หลายรูปแบบ กันแล้ว นักดำน้ำหลายคน เริ่มจะได้ยินคำศัพท์ใหม่ๆ เกี่ยวกับประเภทการดำน้ำ มาให้สงสัยกันบ้างแล้ว

ผมเลยขอใช้พื้นที่นี้ รวบรวมประเภทต่างๆ ของการดำน้ำ มาเล่าให้ฟัง และจะขอเล่าไปถึง จุดเด่น ความสนุกสนานที่จะได้รับ และอาจมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้กับ การดำน้ำประเภทนั้นๆ รวมไปด้วย

และใครจะเสริม หรือจะถามเพิ่มเติม ก็ได้เลยนะครับ

ประเภทการดำน้ำ เท่าที่ผมพอจะนึกออก และไปรวบรวมมาได้ มีประมาณนี้ครับ
1. ดำน้ำในแนวปะการัง (Reef Diving) รวมไปถึง กำแพงหินใต้น้ำ (Wall Diving) และหน้าผาใต้น้ำ (Drop-off)
2. ดำตามพื้นทราย (Muck Diving)
3. ดำเรือจม (Wreck Diving) รวมไปถึง สิ่งปลูกสร้างและซากปรักหักพัง จมน้ำ
4. ดำน้ำแบบปล่อยไหลไปตามกระแสน้ำ (Drift Diving) ไม่รวมการดำน้ำที่จัดอยู่ในแบบอื่น ซึ่งบังเอิญมีกระแสน้ำแรง และต้องฝืน ทวน หรือหาที่หลบนะครับ แม้ว่าเทคนิคบางอย่าง ก็ใช้เหมือนๆ กัน
5. ดำน้ำกลางคืน (Night Diving)
6. ดำน้ำในโพรง (Cavern Diving) คือการดำน้ำในโพรงหรือถ้ำใต้น้ำ ที่ยังพอมีแสงสว่างจากภายนอกอยู่บ้าง
7. ดำน้ำในถ้ำ (Cave Diving) อันนี้คือ ถ้ำจริงๆ ที่อาจคดเคี้ยว มีขึ้น/ลง ลึกเข้าไปเป็นสิบ เป็นร้อยเมตร และที่สำคัญคือ ไม่มีแสงสว่างธรรมชาติส่องถึง
8. ดำน้ำใต้แผ่นน้ำแข็ง (Diving under Ice หรือ Ice Diving)

* แบ่งประเภทตามสภาพแวดล้อมการดำน้ำนะครับ ถ้าแบ่งด้วยเงื่อนไขแบบอื่น อาจได้อีกหลายประเภทครับ

รวบรวมจาก
http://books.google.co.th/books?id=zxuW42R3rbMC&hl=th' target='_blank'>Complete Diving Manual โดย Jack Jackson
http://www.padi.com/scuba/padi-courses/ ... fault.aspx' target='_blank'>All PADI Courses
"อิสระ" จะทำให้ "โอกาส" อยู่กับเราเสมอ
-- พี่ป๊อด พูดไว้ในโฆษณา 1-2-call :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปักเป้า
Advanced Member
โพสต์: 1275
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2005 10:44 pm

โพสต์ โดย ปักเป้า »

การดำน้ำในแนวปะการัง (Reef Diving)
เป็นการดำน้ำแบบพื้นฐานที่สุดสำหรับทุกคน เพราะแนวปะการัง (coral reef) เป็นพื้นที่ ที่เราจะพบสิ่งมีชีวิตได้หลากหลายชนิดมากที่สุดต่อพื้นที่เท่าๆ กัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าตื่นตาตื่นใจ สำหรับนักท่องเที่ยวใต้ทะเลอย่างพวกเรา

แนวปะการัง เกิดขึ้นจากการก่อร่างสร้างบ้าน โดยสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า "ปะการัง" (coral) โดยพื้นที่ของแนวปะการังส่วนใหญ่จะเกิดจาก ปะการังแข็ง (hard coral) ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน นับหมื่นนับแสนตัว ตัวเล็กตัวน้อยเพียง 0.5 ถึง 2 ซ.ม. เท่านั้น สร้างเปลือกหินปูนห่อหุ้มร่างกายที่อ่อนนุ่ม (ที่เรียกว่า polyp) เอาไว้ เมื่อตายไปก็จะมีตัวใหม่สร้างบ้านหินปูนซ้อนทับขึ้นไปเรื่อยๆ เกิดเป็นโครงสร้างหินปูนแข็งแรง ของก้อนปะการัง ขึ้นมา

ส่วนปะการังอ่อน (soft coral) มักจะมีโครงสร้างไม่ใหญ่โต เปราะบาง เมื่อตายก็มักจะแตกหัก ร่วงหล่นไปเป็นส่วนหนึ่งของพื้นทราย แต่จะเป็นตัวชูโรงในเรื่องของความสวยงามของแนวปะการังมากกว่า เพราะปะการังอ่อน มักมีสีสันสวยงาม กิ่งก้านแผ่กว้าง และโอนอ่อนโบกสะบัด พริ้วไหว ไปตามคลื่นน้ำที่กระทบมา

สิ่งมีชีวิตที่พบได้ในแนวปะการัง คือ สัตว์เกือบทุกกลุ่มในทะเล นับตั้งแต่ ปลาหลากสี หลายสายพันธุ์ กุ้ง กั้ง หอย ปู ทากทะเล ดอกไม้ทะเล หมึก เม่น ดาว เต่า งู ไปจนถึง แมงกะพรุน และ ปลาทะเลลึก (เรามักเรียกกันว่า ปลากลางน้ำ หรือ pelagic fish) ที่บางทีก็แวะเวียนมาในแนวปะการังเช่นกัน

ขอยกเรื่องเกี่ยวกับ จุดเด่น และเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไปไว้ที่หัวข้อ http://www.freedomdive.com/webboard/ind ... topic=1271' target='_blank'>การดำน้ำในแนวปะการัง (Reef Diving) ละกันนะครับ เผื่อใครจะให้ความเห็นเพิ่มเติมได้ด้วย
"อิสระ" จะทำให้ "โอกาส" อยู่กับเราเสมอ
-- พี่ป๊อด พูดไว้ในโฆษณา 1-2-call :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปักเป้า
Advanced Member
โพสต์: 1275
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2005 10:44 pm

โพสต์ โดย ปักเป้า »

การดำน้ำตามพื้นทราย (Muck Diving)
เป็นอีกประเภทของการดำน้ำ ที่นักดำน้ำใหม่ๆ อาจยังนึกไม่ออกว่ามันจะสนุกตรงไหน แต่นักดำน้ำที่ดำน้ำมาระยะหนึ่งแล้ว หลายคนจะเริ่มสนุกกับการดำน้ำในพื้นที่ ที่ดูไม่น่าสนใจ มีแต่ความราบเรียบ สม่ำเสมอ มองไปทางไหน ก็เห็นแต่ทราย ทราย ทราย อันเวิ้งว้าง แตกต่างไปจาก แนวปะการัง อย่างสิ้นเชิง

จริงๆ แล้วในความเวิ้งว้างว่างเปล่า ดูไม่น่าสนใจนั้น มีสิ่งที่น่าสนใจอย่างมากรออยู่ โดยเฉพาะนักดำน้ำที่สนใจ สิ่งมีชีวิตแปลกตา น่าแปลกใจ เพราะสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิด ชอบที่จะอยู่อาศัยตามพื้นทรายมากกว่าแนวปะการัง และด้วยความที่เป็นพื้นที่ไม่เหมือนแนวปะการัง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่กับพื้นทราย จึงมักจะมีพฤติกรรมบางอย่าง แปลก แตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังอีกด้วย ซึ่งเป็นจุดเด่นอีกข้อหนึ่งของการดำน้ำตามพื้นทราย นั่นเอง

ตัวอย่างของ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยตามพื้นทราย ได้แก่
ปลาลิ้นหมา (Sole และ Flounder) ที่มีวิธีการว่ายน้ำ ไม่เหมือนปลาทั่วไป
ปลาผีเสื้อกลางคืน (Sea Moth) และ Flying Gurnard ที่ดูเหมือนจะร่อนถลาได้
ปลาไหลสวน (Garden Eel) กับวิธีหาอาการที่ลอยมากับกระแสน้ำ
และ ทากทะเลหลายสายพันธุ์ ที่แปลกตา และหาดูไม่ได้ในแนวปะการัง เป็นต้นครับ
"อิสระ" จะทำให้ "โอกาส" อยู่กับเราเสมอ
-- พี่ป๊อด พูดไว้ในโฆษณา 1-2-call :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปักเป้า
Advanced Member
โพสต์: 1275
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2005 10:44 pm

โพสต์ โดย ปักเป้า »

การดำเรือจม และสิ่งก่อสร้าง หรือซากปรักหักพัง (Wreck Diving)
เรือจม และซากปรักหักพังใต้น้ำ นอกจากจะทำหน้าที่ เป็นโครงสร้างปะการังเทียม ที่มีสิ่งมีชีวิตมาเกาะติด หรืออาศัยเป็นที่อยู่ หลบภัยได้แล้ว ยังมีจุดเด่นในเรื่องของการเป็นจุดดำน้ำด้วย เพราะการดำน้ำในที่แบบนี้ จะให้อรรถรสในการดำน้ำได้หลากหลาย กว่าแนวปะการังธรรมชาติทั่วไป มีทั้งซอก หลืบ ห้องหับ หรือช่องโพรงต่างๆ ให้เราต้องเคลื่อนตัวด้วยวิธีต่างๆ หลายแบบ เห็นวิวทิวทัศน์ และแสงเงา หลากหลาย แปลกตา ในตำแหน่งต่างๆ รวมไปถึงเรื่องราว หรือประวัติศาสตร์ เบื้องหลังการจม หรือการก่อสร้าง สิ่งนั้นๆ ที่อาจช่วยสร้างความสนุกสนาน ตื่นเต้น ไปจนถึงเร้าใจ ในระหว่างการดำน้ำในที่นั้นๆ มากยิ่งขึ้นด้วย จึงนับเป็นการดำน้ำอีกประเภทหนึ่ง ที่มีเสน่ห์ แตกต่างไปจากการดำน้ำตามแนวปะการังทั่วไป ชวนให้นักดำน้ำหลายคนหลงใหล

สำหรับการดำน้ำรอบๆ เรือจมหรือซากปรักหักพัง เป็นสิ่งที่นักดำน้ำทั่วไป สามารถทำได้ด้วยทักษะการดำน้ำที่เรียนมา แต่หากจะมุดเข้าไปภายในซากเรือแล้วล่ะก็ แนะนำให้เรียนรู้ และฝึกหัด การดำน้ำสำรวจภายในเรือจม (wreck penetration) ก่อนจะดีกว่าครับ
"อิสระ" จะทำให้ "โอกาส" อยู่กับเราเสมอ
-- พี่ป๊อด พูดไว้ในโฆษณา 1-2-call :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปักเป้า
Advanced Member
โพสต์: 1275
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2005 10:44 pm

โพสต์ โดย ปักเป้า »

การดำน้ำแบบปล่อยไหลไปในกระแสน้ำ (Drift Diving)
เป็นการดำน้ำแบบที่ นักดำน้ำจะปล่อยตัวเองให้ไปตามกระแส ซึ่งอาจมีความเร็วเอื่อยๆ ไปจนถึงความเร็วสูงมาก ระหว่างไดฟ์ อาจมีจุดที่บังกระแส ให้นักดำน้ำได้หยุดแวะชมทิวทัศน์ ก่อนจะกลับเข้าสู่กระแสน้ำ ปล่อยตัวต่อไป นับเป็นรูปแบบการดำน้ำอีกแบบหนึ่ง ที่ให้ความสนุก ตื่นเต้น เร้าใจ ได้ไม่น้อย ยิ่งถ้ากระแสน้ำมีความเร็วสูง และทิวทัศน์ของจุดดำน้ำ มีความสวยงาม มีฝูงปลามากมาย น้ำใสๆ รับรองว่า นักดำน้ำที่ได้ฝึกฝนทักษะการดำน้ำมาอย่างดี จะสนุกกับการดำน้ำแบบนี้ ไม่ต่างอะไรกับการได้เล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกกันเลยทีเดียว

แน่นอนว่าการดำน้ำในกระแสน้ำแรง นักดำน้ำ จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนทักษะกันก่อน ทั้งที่เกี่ยวกับทักษะการดำน้ำทั่วไป และที่เกี่ยวกับการดำน้ำในกระแสน้ำโดยเฉพาะ รวมทั้งผู้ที่ดูแลการดำน้ำ (ทั้งไดฟ์ลีด และผู้ดูแลบนเรือ) ในไดฟ์ที่ต้องดำในกระแสแรง ก็จะต้องเข้าใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำในกระแส เป็นอย่างดีด้วยครับ
"อิสระ" จะทำให้ "โอกาส" อยู่กับเราเสมอ
-- พี่ป๊อด พูดไว้ในโฆษณา 1-2-call :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปักเป้า
Advanced Member
โพสต์: 1275
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2005 10:44 pm

โพสต์ โดย ปักเป้า »

การดำน้ำกลางคืน
เวลากลางคืน ในขณะที่สิ่งมีชีวิตหลายชนิดเริ่มพักผ่อนหลับนอน แต่ก็เป็นเวลาที่สัตว์ทะเลบางชนิด เริ่มออกหากิน เช่นกัน ด้วยอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ ไฟฉายใต้น้ำ ประกอบกับทักษะการดำน้ำกลางคืน ที่ต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย เราก็สามารถลงไปตื่นตาตื่นใจ กับธรรมชาติของท้องทะเลยามวิกาล ได้แล้วครับ

จุดเด่นของการดำน้ำกลางคืน มีประมาณนี้ครับ
- เป็นเวลาที่ดี ในการชื่นชม สิ่งมีชีวิตที่ซ่อนตัวในเวลากลางวัน และหากินในเวลากลางคืน เช่น ปูและกุ้งหลายชนิด, ทากบางชนิด อย่างทากเหงือกข้าง ตัวใหญ่เท่าชามก๋วยเตี๋ยว และ Spanish Dancer, ดาวตะกร้า
- สัตว์หลายชนิด เริ่มเข้าสู่สถานะง่วงนอน และเซื่องซึม ทำให้ช่างภาพใต้น้ำ สามารถถ่ายรูปสัตว์เหล่านั้นได้ง่ายขึ้นมาก
- สัตว์อีกบางชนิด เข้าสู่ภาวะตื่นตัว ออกหากิน เช่น ปลาไหลมอร์เรย์ ที่เราจะเห็นเค้าว่ายแบบเต็มๆ ตัวได้บ่อย ในเวลากลางคืน
- มีแสงไฟส่อง ทำให้เห็นสีสันของสิ่งต่างๆ ใต้น้ำ ได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น
- เป็นเวลาที่มีวิสัยทัศน์จำกัด (ตามวงของแสงไฟ) ทำให้เรามีขอบเขตการมองเห็นเล็กลง (มีโฟกัสมากขึ้น) และได้เห็นสิ่งเล็กน้อยได้ละเอียดยิ่งขึ้น ได้ชื่นชมกับพื้นผิวของโขดหิน กิ่งปะการัง ได้เต็มอิ่มยิ่งขึ้น

ส่วนบางคนอาจจะยังกลัวความมืดรอบข้าง หรือด้านหลัง ที่แสงไฟส่องไปไม่ถึง ก็อาจไม่สนุกกับการดำน้ำกลางคืนก็ได้
"อิสระ" จะทำให้ "โอกาส" อยู่กับเราเสมอ
-- พี่ป๊อด พูดไว้ในโฆษณา 1-2-call :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปักเป้า
Advanced Member
โพสต์: 1275
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2005 10:44 pm

โพสต์ โดย ปักเป้า »

การดำน้ำในโพรง (Cavern Diving)
หมายถึง การดำน้ำในบริเวณที่ปิด มีขอบเขตจำกัด และมักจะจำกัดด้านบนด้วย (คือถ้าตกใจ ก็ขึ้นไปหาอากาศข้างบน ไม่ได้) โดยต่างจาก การดำน้ำในถ้ำ ตรงที่การดำน้ำแบบนี้ จะพอมีแสงส่องเข้ามาได้บ้าง พอมองเห็นบริเวณรอบข้างได้ และยังมองเห็นทางออกได้ แม้ไฟฉายดับ หรือไม่ได้ใช้ไฟฉาย

การดำน้ำแบบนี้ มีทักษะ และวิธีปฏิบัติ ที่ต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจ เพิ่มจากทักษะพื้นฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นักดำน้ำ ก็สามารถร่วมกิจกรรมแบบนี้ ได้อย่างสนุกสนาน และปลอดภัยเพียงพอ

การดำน้ำในถ้ำ (Cave Diving)
ส่วนการดำน้ำในถ้ำ ก็คล้ายกับการดำน้ำในโพรง ต่างกันตรงที่การดำน้ำในถ้ำ อาจเข้าไปตามแนวถ้ำ ลึกจนไม่มีแสงจากภายนอกส่องเข้าไปถึงได้ และแม้มีอุปกรณ์ให้แสงสว่างแล้วก็ตาม นักดำน้ำก็ยังอาจจะหลงทาง ไม่รู้ว่าทางไหนที่เข้ามา และทางไหนเป็นทางออก ได้ด้วย

การดำน้ำในถ้ำ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการเรียนรู้ทฤษฎี วิธีปฏิบัติ ฝึกฝนทักษะ พร้อมอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย จึงจะดำน้ำในถ้ำได้อย่างปลอดภัย
"อิสระ" จะทำให้ "โอกาส" อยู่กับเราเสมอ
-- พี่ป๊อด พูดไว้ในโฆษณา 1-2-call :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปักเป้า
Advanced Member
โพสต์: 1275
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2005 10:44 pm

โพสต์ โดย ปักเป้า »

การดำน้ำใต้แผ่นน้ำแข็ง (Diving under Ice หรือ Ice Diving)
เป็นการดำน้ำในสภาพแวดล้อมที่เกินจุดที่มนุษย์จะดำรงชีวิตอยู่ได้นาน และต้องใช้อุปกรณ์ และการวางแผนเตรียมการอย่างดี โดยมีทีมงานที่มีความรู้ความเข้าใจจริงๆ

อุณหภูมิน้ำใต้แผ่นน้ำแข็ง อาจต่ำได้ถึง -1.8c และทำให้ต้องมีอุปกรณ์กันความเย็นหลายอย่าง จนต้องเพิ่มตะกั่วถ่วงน้ำหนักจำนวนมาก ในขณะที่เมื่อขึ้นมาบนพื้นน้ำแข็งแล้ว นักดำน้ำอาจเจออากาศที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 มากๆ ประกอบกับลมแรงที่ทำให้เกิด wind-chill effect ดูดความร้อนในร่างกายไปได้อีกมาก

เราคงไม่ต้องพูดถึงการดำน้ำแบบนี้มากนัก เพราะคงไม่มีโอกาสได้ดำกันซักเท่าไหร่ และถ้าใครจะมีโอกาสนั้น ก็คงได้รู้จักอย่างละเอียด ตอนเข้าคอร์สจริงจังเลย
"อิสระ" จะทำให้ "โอกาส" อยู่กับเราเสมอ
-- พี่ป๊อด พูดไว้ในโฆษณา 1-2-call :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปักเป้า
Advanced Member
โพสต์: 1275
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2005 10:44 pm

โพสต์ โดย ปักเป้า »

การดำกลางน้ำ
เป็นรูปแบบการดำน้ำที่ผมไม่เคยเห็นใครพูดถึง ทั้งในตำรา หรือแหล่งอ้างอิงทั่วไป แต่จากประสบการณ์ที่ดำน้ำมา ผมอยากจะแยกการดำน้ำแบบนี้ออกมาเป็นอีกประเภทหนึ่ง และยกเอาความน่าสนใจ ข้อควรระวัง และเทคนิคที่จำเป็น มากล่าวถึงเป็นการเฉพาะไปเลย เพราะบ่อยครั้งที่เราต้องดำน้ำในสถานการณ์แบบนี้

นั่นคือ การดำน้ำในบริเวณที่มองไม่เห็นพื้น หรือพื้นอยู่ห่างมาก เป็นสิบเมตร ที่ความลึกซึ่งเกินกว่าขีดจำกัดของการดำน้ำเพื่อสันทนาการ (recreational diving) จะอนุญาตให้เราลงไปสัมผัสได้ และในแนวราบ ก็อาจไม่มีแนวปะการัง หรือโครงสร้างอะไรให้อ้างอิงความลึก หรืออาจมีแต่อยู่ห่างมาก

การดำน้ำแบบนี้ มักใช้เมื่อเรากำลังรอคอย สัตว์ทะเลที่อาศัยกลางน้ำ (pelagic animal) เช่น กระเบนราหู (Manta ray) ฉลามวาฬ (Whaleshark) ปลาพระอาทิตย์ (โมลาโมล่า: Mola Mola) หรือ ฉลามหัวค้อน เป็นต้น ซึ่งเป็นรูปแบบการดำน้ำที่มีโอกาสได้เจอบ้างแน่นอน จึงควรเข้าใจ และเรียนรู้เทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไว้ใช้ด้วย
"อิสระ" จะทำให้ "โอกาส" อยู่กับเราเสมอ
-- พี่ป๊อด พูดไว้ในโฆษณา 1-2-call :mrgreen:
ตอบกลับโพส