โคโมโด (Komodo - Labuan Bajo)

โคโมโด (Komodo - Labuan Bajo)

หมู่เกาะโคโมโด เป็นอุทยานแห่งขาติของประเทศอินโดนีเซีย และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพของทั้งบนบกและโลกใต้ทะเล นอกจากมังกรยักษ์โคโมโด สัตว์เลื้อนคลายดึกดำบรรพ์ที่เหลือยู่แห่งเดียวในโลก โลกใต้ทะเลของโคโมโด ยังเป็นจุดดำน้ำ ดูปะการัง สัตว์น้อยใหญ่ ตั้งแต่ปลากระเบนราหู ปลาฉลาม ฝูงปลาที่ชุกชุมเนื่องจากกระแสน้ำไหลเชี่ยวจาก 2 มหาสมุทร ความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายทางธรรมชาติ โคโมโดจึงเป็นสวรรค์และเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางของนักดำน้ำและนักท่องเที่ยวทั้วโลก

พื้นที่ดำน้ำ

ข้อมูลทั่วไป

เมื่อพูดถึงโคโมโด คนส่วนใหญ่มักนึกถึงมังกรยักษ์โคโมโด สัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์แห่งเกาะโคโมโด ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศที่มีเกาะน้อยใหญ่กว่า 17,000 เกาะ แต่เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่จำนวนเพียง 3,000 เกาะเท่านั้น หมู่เกาะโคโมโดเป็นหนึ่งในหมู่เกาะซุนดาน้อยที่แบ่งออกเป็น 3 เขตการปกครอง คือ บาหลี นูซาเติงการาตะวันออก และ นูซาเติงการาตะวันตก ซึ่งหมู่เกาะโคโมโดอยู่ระหว่างนูซาเติงการาตะวันออก และ นูซาเติงการาตะวันตก

หมู่เกาะโคโมโดเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ ประกอบไปด้วยเกาะใหญ่ 3 เกาะ (เกาะโคโมโด เกาะรินกา และ เกาะปาดาร์) รวมทั้งเกาะเล็กๆ อีก 26 เกาะ จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติในปี 1980 (หรือ พ.ศ.2523) เพื่ออนุรักษ์มังกรยักษ์โคโมโด ที่พบเห็นและเหลือเพียงแห่งเดียวในโลก และในปี 1991 (หรือ พ.ศ.2534) องค์กรยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนให้หมู่เกาะโคโมโดเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทางธรรมชาติ (New 7 Wonders of Nature) ทำให้หมู่เกาะนี้ได้รับการอนุรักษ์ธรรมชาติทั้งบนบกและใต้ทะเล โคโมโดจึงยังเป็นจุดดำน้ำที่ขึ้นชื่อว่ายังคงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ รวมทั้งสรรพสัตว์ในโลกใต้ทะเลแห่งหนึ่งของโลก

ลักษณะภูมิอากาศของประเทศอินโดนิเซียซึ่งตั้งอยู่ในเขตร้อน เกาะทั้งหลายตั้งระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิค ทำให้ได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมทะเล ประเทศอินโดนีเซียมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และ ฤดูฝน เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 28 องศาเซลเซียส

ประชากรของประเทศอินโดนิเซียมากกว่า 80% นับถือศาสนาอิสลาม อาหารจึงมีส่วนประกอบประเภทเนื้อสัตว์จำพวก เนื้อวัว เนื้อไก่ หรือ เนื้อแพะ และ อาหารทะเล ส่วนอาหารจำพวกผักและผลไม้ก็เป็นพืชพันธุ์ที่ขึ้นในเขตร้อนเหมือนบ้านเรา กินข้าวเป็นอาหารหลัก เช่น Nasi Goreng Ayam (นาซิ โกเรง อะยัม - ข้าวผัดไก่) Nasi Uduk (นาซิ อูดุก-ข้าวนึ่งกับกะทิ) ราดแกงกะหรี่ แกงมัสมั่น หรือแกงเผ็ด รวมทั้งผัดผัด สะเต๊ะเนื้อ สะเต๊ะไก่ และ สะเต๊ะแพะ ส่วนอาหารประจำชาติ คือ กาโด กาโด (Gado Gado) ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยม ประกอบด้วยผัก และธัญพืชหลากหลายชนิด รวมกับเต้าหู้และไข่ต้มสุก รับประทานพร้อมกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ

การเดินทาง

แผนที่การเดินทาง โคโมโด (Komodo - Labuan Bajo)

การเดินทางไปยังเกาะโคโมโดยังไม่มีเที่ยวบินตรงจากประเทศไทย แนะนำให้บินจากกรุงเทพไปสู่เดนพาซาร์ (Denpasar) เกาะบาหลีก่อน แล้วต่อด้วยสายการบินในประเทศไปยังลาบวนบาโจ (Labuan Bajo) บนเกาะนูซาเติงการาตะวันออก ซึ่งจะมีร้านดำน้ำ รวมทั้งไดฟ์รีสอร์ทมากมายที่ให้บริการนำเทียวตั้งแต่เรือข้ามเกาะไปชมมังกรโคโมโด รวมทั้งดำน้ำลึก และดำผิวน้ำ

ข้อมูลการบิน

เส้นทางกรุงเทพ-เดนพาซาร์ (บาหลี) มีหลายสายการบินให้เลือกใช้ เลือกค้างคืนเที่ยวในบาหลีก่อน แล้วจึงต่อสายการบินในประเทศเพื่อเดินทางไปลาบวนบาโจ หรือเดินทางภายในวันเดียวเลยก็ได้เช่นกัน ในที่นี้ขอแนะนำไฟล์ที่ต้องการเดินทางภายในวันเดียว จากกรุงเทพ-เดนพาซาร์-ลาบวนบาโจ (ขาไป-ขากลับ) เพื่อประหยัดที่พักบนเกาะบาหลี

   From         To                          Flight                       Departure time        Arrival time      
ขาไป        
DMK DPS FD396 (Air Asia)  06:15 11:30
DPS LBJ IW1898 (Wing Air) 13:55 15:15
DPS LBJ IN664 (Nam Air) 14:00 14:55
ขากลับ        
LBJ DPS IW1831 (Wing Air) 08:30 09:30
DPS DMK FD397 (Air Asia) 12:00 15:15

การรักษาพยาบาล

มี hyperbaric chamber แห่งเดียวเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อปี 2018 ที่ Siloam Hospital Labuan Bajo (ในเครือ Siloam Hospital ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่มีสาขาอยู่ทั่วอินโดนีเซีย)

พื้นที่ดำน้ำ