เรือจมเพชรบุรีเบรเมน

ประเภทการดำน้ำ Wreck diving
ระดับการดำน้ำ Advance Open Water
ความลึก 22
จุดดำน้ำ เรือเพชรบุรีเบรเมน จมลงที่ความลึกประมาณ 22 เมตร หัวเรือลึก 14 เมตร ตัวเรือยาวประมาณ 88 เมตร วางตั้งตรง ยกเว้นบริเวณท้ายเรือที่ตะแคงลงทางกราบขวา หัวเรือหันไปทางทิศตะวันตก ท้ายเรือหันไปทางทิศตะวันออก
สิ่งที่น่าสนใจ จุดน่าสนใจของเรือลำนี้มีอยู่มากมาย ถึงแม้จะมีร่องรอยการพังทลายลงของเรือให้เห็นในบางส่วน บริเวณท้ายเรือจะมีหางเสือและเพลาใบจักรขนาดยักษ์ให้เห็นชัดเจน มักจะมีเต่าตัวใหญ่ๆ มาอาศัยอยู่ประจำ ห้องระวางและรอกกว้านสินค้าสามชุดยังคงตั้งอยู่อย่างสมบูรณ์ Boiler อยู่บริเวณกลางลำเรือ และข้างใต้จะมีห้องเก็บถ่านหินซึ่งยังมีถ่านหินอยู่มากมายในปัจจุบัน

สัตว์ทะเลมีมากมายหลายชนิด มากกว่าเรือจมลำอื่นๆ ที่นักดำน้ำนิยมไปดำกัน อาจจะเนื่องจากนานๆ ครั้งจึงจะมีนักดำน้ำไปเยือน นอกจากเต่าตัวใหญ่ๆ ที่มีให้เห็นเรื่อยๆ บริเวณท้ายเรือแล้ว ยังมีปลากระเบน Marble Ray ตัวยักษ์ๆ ให้ชมอีกหลายตัว ปลาหางเหลืองและปลาสากฝูงใหญ่ๆ ปลากระพง ปลานกแขกเต้า (Tusk Fish หรือ ไอ้กู่) ก็มีอยู่อย่างชุกชุม และมีทากทะเล มากมายหลายชนิด

ข้อมูลทั่วไป

ในภายหลังกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือได้ทำการสำรวจกองหินใต้น้ำดังกล่าวพบว่า ยอดกองมีความลึกเพียง 6 เมตร และเรือแก้วสมุทรในขณะนั้น กินน้ำลึกประมาณ 8 เมตร จึงชนกันได้นั้นเอง ต่อมาทางกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือจึงได้ตั้งชื่อกองหินดังกล่าวว่า “กองหินแก้วสมุทร” ซึ่งปราณกฎอยู่ในแผนที่กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ หมายเลข 115 ในปัจจุบัน

ที่มา : 

1. https://www.freedomdive.com/th/tip/petchburi-bremen-dive-site-in-sattahip

2. https://teenkob.com/2020/07/09/history-wrek-ship-n-d-l-ss-petchaburi-kaew-samuds/?fbclid=IwAR0DMqsNVk_uTle2WnGVmdYSMdpJ6LUUzalZu2Bkl6JE8FUmVij75uSSNa0

จุดดำน้ำ (รายละเอียด)

ข้อควรระวังในการดำน้ำที่เรือจมเพชรบุรีเบรเมน คือ การเกี่ยวติด เนื่องจากเรือจมลำนี้เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุม จึงมีเรือตกปลาจากบางเสร่ สัตหีบ และแสมสาร จำนวนมากมาตกปลาที่นี่ บริเวณตัวเรือจึงมีสายเอ็น Monofilament จำนวนมาก รวมถึงอวนซึ่งปัจจุบันมีน้อยลงกว่าเดิม นักดำน้ำจึงควรมีประสบการณ์และมีมีดคมๆ ติดตัวไปด้วยเสมอ เวลาไปชมเรือจมที่สวยงามลำนี้

ในขณะเดียวกัน การวางแผนการดำน้ำที่รอบคอบก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากความลึก 22 เมตรเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย ควรระวังปลาหินและเม่นทะเล รวมถึงเพรียงคมๆ ที่ติดอยู่ตามตัวเรือทั่วไป

การเดินทาง

การเดินทางมายังชลบุรี

  • รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดชลบุรีได้หลายเส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 ใช้เส้นทางสายบางนา-ตราด ทางหลวงหมายเลข 34 เข้าสู่จังหวัดชลบุรี
    เส้นทางที่ 2 
    ใช้เส้นทางสายกรุงเทพฯ-มีนบุรี ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา-บางปะกง เข้าสู่จังหวัดชลบุรี
    เส้นทางที่ 3 ใช้เส้นทางสายเก่า ถนนสุขุมวิท ทางหลวงหมายเลข 3 ผ่านจังหวัดสมุทรปราการ ไปจนถึงแยกอำเภอบางปะกง และให้แยกเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 34 ไปจนถึงจังหวัดชลบุรี

    เส้นทางที่ 4 ใช้เส้นทางหลวงพิเศษ (MOTOR WAY) สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา โทร. 1193, 0 3839 2001
  • รถประจำทาง สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) มีบริการรถประจำทางปรับอากาศไปชลบุรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 5.30-21.00 น.รถออกทุก 40 นาที โทร. 0 2391 9829 รถประจำทาง ปรับอากาศชั้น 2 มีบริการระหว่างเวลา 5.00 – 21.00 น. ออกทุก 30 นาที โทร. 0 2391 2504 รถประจำทาง ธรรมดามีบริการตั้งแต่เวลา 5.00 - 21.00 น. ออกทุก 30 นาที โทร. 0 2391 2504
  • รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีบริการรถไฟไปจังหวัดชลบุรีทุกวัน ๆ ละ 1 เที่ยว ไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟพลูตาหลวง สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ : 1690, 0 2223-4334, 0 2220-4444 หรือเว็บไซท์ www.railway.co.th