Safety Stop

พบปะพูดคุยเรื่องราวต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการดำน้ำและไม่ดำน้ำ
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Marlin
New Member
โพสต์: 6
meble kuchenne - tworzymyatmosfere.pl
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ม.ค. 17, 2007 12:05 am

โพสต์ โดย Marlin »

ในปัจจุบันเราจะพบว่านักดำน้ำดำน้ำกันลึกเป็นเรื่องปกติธรรมดา และการทำดีพสตอปและเซฟตี้สตอปก็เป็นเรื่องปกติที่นักดำน้ำทำกันเพื่อความปลอดภัยโดยทั่วกันนับตั้งแต่มีการนำเอาหลักการของการทำเซฟตี้สตอปมาใช้เมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว

เราคงคิดว่าเทคนิคการทำเซฟตี้สตอปคงจะไม่มีอะไรยากเย็นหรือซับซ้อน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การทำ เซฟตี้สตอป นั้นมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและเทคนิคทักษะที่ละเอียดอ่อนหลายอย่าง หากต้องการจะได้รับประโยชน์เต็มที่จากการทำสิ่งนี้

เราควรทำเซฟตี้สตอปก่อนจะจบทุกไดว์เพราะมันจะทำให้เราคำนึงถึงการขึ้นสู่ผิวน้ำ และทำให้เราได้ฝึกทักษะการดำน้ำมากขึ้น รวมถึงเราจะคำนึงถึงการหลีกเลี่ยงและป้องกัน DCS ในเวลาเดียวกัน และเช่นเดียวกันทักษะทุกชนิด การที่จะเกิดความเชี่ยวชาญได้นั้นจะต้องมีการฝึกฝนทักษะเหล่านั้นจะกระทั่งกลายเป็นการกระทำโดยอัตโนมัติหรือทำจนรู้สึกเป็นธรรมชาตินั่นเอง

การทำเซฟตี้สตอปนั้นเริ่มตั้งแต่ใต้ทะเลตรงพื้นนั่นแหละครับ โดยเราจะต้องคิดอยู่เสมอว่าจะต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ หรือขึ้นสู่จุดที่จะทำเซฟตี้สตอปให้ช้า สิ่งแรกคือต้องเอาอากาศออกจากบีซีดีเสียก่อนเพื่อไม่ให้เราลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไปจนควบคุมไม่ได้ การมีลมในบีซีดีนิดหน่อยเพื่อไม่ให้ต้องเตะขามากเกินไปนั้นเป็นเรื่องพอรับได้ แต่พลังหลักที่ใช้ในการขึ้นจะต้องเกิดจากแรงขาของเรา ไม่ใช่เกิดจากแรงยกของลมในบีซีดีครับ การจมลอยของเราจะพอดีก็ต่อเมื่อเราหยุดลอยขึ้นเมื่อเราหยุดเตะขา หากเราหยุดเตะขาแล้วแต่ตัวยังลอยอยู่ก็หมายความว่าเรามีอากาศในบีซีดีมากเกินไปแล้วครับ

ความเร็วในการขึ้นสู่ผิวน้ำในปัจจุบันมีการตกลงกันในหมู่องค์กรเกี่ยวกับเวชศาสตร์ใต้น้ำว่า ความเร็ว 9 เมตรต่อนาทีนั้นเหมาะสมกว่าความเร็ว 18 เมตรต่อนาทีที่เคยเข้าใจกัน เพราะฉะนั้น หากใครใช้คอมพิวเตอร์ดำน้ำที่เตือนที่ความเร็ว 18 เมตรต่อนาที ก็ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ได้แล้วครับ

ทักษะต่อมาในการทำเซฟตี้สตอปก็คือการเตรียมพร้อมที่จะหยุดกลางน้ำ ทักษะนี้จะยากยิ่งขึ้นหากเราไม่มีเชือกหรือทุ่นที่จะเป็นแนวกำหนด นักดำน้ำจำเป็นต้องสังเกตว่ามีอากาศเพิ่มเข้ามาในบีซีดีของตนหรือไม่ขณะกำลังขึ้นนะครับ เพราะอากาศเพียงเล็กน้อยที่อยู่ในบีซีดีที่ความลึก จะขยายตัวได้มากขึ้นเมื่อเราขึ้นมาสู่ความตื้น หากเราไม่คอยสังเกตและปล่อยอากาศออกจากบีซีดี เราอาจจะลอยขึ้นเร็วโดยไม่รู้ตัวและไม่สามารถหยุดตรงจุดที่เราจะทำเซฟตี้สตอปได้ครับ

สิ่งที่ต้องคิดถึงอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ถังอากาศของเรานั้น หากใช้จนเกือบหมดแล้ว จะลอยตัวมากกว่าตอนที่มีอากาศอยู่เต็ม เมื่อเราทำเซฟตี้สตอปท้ายไดว์ที่อากาศในถังมีอยู่น้อย เราอาจจะตัวลอยมากกว่าที่คิดไว้ และทำเซฟตี้สตอปด้วยความทุลักทุเลก็เป็นได้ วิธีป้องกันคือควรหาจำนวนตะกั่วที่เราต้องใช้ด้วยการทำ Buoyancy Weight Check ในขณะที่อากาศมีอยู่น้อยในถังครับ หรือหากเราทำตอนถังเต็ม ก็ควรเพิ่มตะกั่วอีกสักก้อนหรือสองก้อนเผื่อไว้ก่อน ต้นไดว์จะรู้สึกหนักแต่จะสบายและปลอดภัยท้ายไดว์ครับ

สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาในเรื่องเซฟตี้สตอปในปัจจุบันคือมีการเสนอแนวคิดการทำดีพสตอป การทำดีพสตอปนั้นคือการหยุดที่ความลึกประมาณครึ่งหนึ่งของความลึกสูงสุดที่เราดำในไดว์นั้นเป็นเวลาหนึ่งนาที นอกเหนือจากการมีผลดีต่อระบบของร่างกายในการช่วยกำจัด Silent Bubble ได้ดีขึ้นแล้ว การทำดีพสตอปยังช่วยให้เราไม่สามารถเร่งขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็วอีกประการหนึ่ง เพราะหากเราดำน้ำที่ความลึก 30 เมตรและรู้ว่าจะต้องหยุดที่ความลึก 15 เมตรเป็นเวลาหนึ่งนาทีแล้ว เราก็จะไม่มีทางพรวดพราดขึ้นโดยไม่รู้ตัวได้อย่างแน่นอนครับ

ทักษะสำคัญต่อมาคือการลอยตัวนิ่งๆ อยู่กลางน้ำ หรือที่เรียกกันว่าการทำ Hovering นั่นเองครับ คนที่จะทำเซฟตี้สตอปและดีพสตอปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีทักษะนี้ในระดับดีมาก หากนักดำน้ำไม่สามารถลอยตัวนิ่งๆ ได้ ก็จะเป็นต้องเตะขาไม่หยุดเพื่อไม่ให้ตัวจมหรือลอย ซึ่งการออกแรงมากๆ แบบนั้นไม่เหมาะสมและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น DCS การที่นักดำน้ำผ่อนคลายและหลีกเลี่ยงการออกแรงมากๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการทำเซฟตี้สตอปด้วย

ขั้นตอนในการทำเซฟตี้สตอปไม่ได้หมดลงเมื่อเราลอยนิ่งๆ ที่ความลึกระหว่าง 4-6 เมตรเป็นเวลาตั้งแต่ 3-5 นาทีเท่านั้นนะครับ ข้อสำคัญต่อจากนั้นคือต้องขึ้นสู่ผิวน้ำช้าๆ มีนักดำน้ำจำนวนมากเมื่อเห็นว่าหมดเวลาในการทำเซฟตี้สตอปแล้วก็พุ่งพรวดอย่างรวดเร็วสู่ผิวน้ำทันที อย่างนี้อันตรายนะครับเพราะที่ความลึกนี้อากาศจะขยายตัวได้อย่างรวดเร็วและมากมายกว่าที่ความลึกมากกว่านี้ ปอดของเราอาจจะระบายอากาศไม่ทันและอาจเกิดการปอดฉีกขึ้นมากได้

สุดท้าย เมื่อขึ้นมาบนเรือหรือบนฝั่งแล้ว สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต่อไปคือต้อง “พัก” ครับ อย่าลุกขึ้นไปทำอะไรที่ไม่จำเป็นสักระยะหนึ่ง อาจจะสักสิบหรือยี่สิบนาที เพราะอันที่จริงแล้ว เซฟตี้สตอปสุดท้ายที่เราทำนั้นไม่ได้ทำที่ความลึกสามถึงห้าเมตรหรือครับ เซฟตี้สตอปสุดท้ายจริงๆ นั้นอยู่บนผิวน้ำต่างหาก เมื่อเราขึ้นมาอยู่บนผิวน้ำระหว่าง Surface Interval นั้น ร่างกายเรายังมีไนโตรเจนหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะช่วงขึ้นมาใหม่ๆ จะมีหลงเหลืออยู่มาก และค่อยๆ ลดลงจนเหลือน้อยมากหรือเป็นปกติภายใน 24 ชม.

เพราะฉะนั้น เมื่อขึ้นมาสู่ผิวน้ำหรือขึ้นบนเรือช่วงแรก ก็ควรอยู่นิ่งๆ พักผ่อนให้สบายสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยเริ่มทำกิจกรรมที่ต้องทำ เช่นเก็บล้างอุปกรณ์ดำน้ำ หรือช่วยเหลือเพื่อนๆ ขึ้นสู่เรือครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Taklyz
Advanced Member
โพสต์: 562
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ เม.ย. 30, 2007 11:38 am

โพสต์ โดย Taklyz »

ว้าวว :lol:
ได้ความรู้เยอะเลยครับ อ่านแล้วนำไปปฏิบัติก็จะดำน้ำได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
ขอบคุณ คุณครูเบิ้ม มากๆครับ
"Work Hard And Dive Hard Too"...Your Freedom to explore 70% of the earth"Only those who dare to fail greatly can ever achieve greatly". Robert F Kennedyhttp://www.facebook.com/?ref=home#!/Scubalism' target='_blank'>http://www.facebook.com/?ref=home#!/Scubalism>
ภาพประจำตัวสมาชิก
flatworm
Advanced Member
โพสต์: 2771
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2005 2:25 pm
ที่อยู่: Under the sea

โพสต์ โดย flatworm »

การทำ Stop ทั้ง 2 แบบ ก็มีประเด็นแฝงอยู่อย่างไม่น่าเชื่อ ในแง่ที่ว่า ทำให้เรามีสติ ในการที่จะควบคุมความเร็วในการขึ้นสู่ผิวน้ำ
ไม่พรุ่งพรวดขึ้นมา เพราะเราจะต้องใช้สติในการดูความลึกตลอดเวลา

รวมถึงเป็นช่วงเวลาที่ใช้ฝึก hovering ได้ดีที่สุดจริงๆ ด้วย โดยเฉพาะการทำ Stop ในที่น้ำนิ่ง กลางน้ำ ไม่มีปะการังให้ดู :lol:
diving with FreedomDIVE, every site so fun.
น้ำใสๆ ดำชิวๆ นี่แหละ คือการดำน้ำที่มีความสุขที่สุดในโลก


MSN: earth_maisak at hotmail dot com
Email: supasate at freedomdive dot com
ภาพประจำตัวสมาชิก
piyapong_lex
Advanced Member
โพสต์: 48
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 13, 2007 1:13 pm
ที่อยู่: Rayong

โพสต์ โดย piyapong_lex »

ดีจังมีเรื่องดีๆได้อ่านกันด้วย ขอบคุณครับพี่น้องครับ ^o^
ภาพประจำตัวสมาชิก
piyapong_lex
Advanced Member
โพสต์: 48
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 13, 2007 1:13 pm
ที่อยู่: Rayong

โพสต์ โดย piyapong_lex »

ดีจังมีเรื่องดีๆได้อ่านกันด้วย ขอบคุณครับพี่น้องครับ ^o^
ตอบกลับโพส